ดร.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร รักษาการหัวหน้าส่วนพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เข้าร่วมการประชุมสุดยอดการศึกษาโลก 2024 (Global Education Summit 2024) ในฐานะแขกผู้มีเกียรติและวิทยากรหลัก ระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2567 ณ Chandigarh University ประเทศอินเดีย โดยได้บรรยายในหัวข้อ “Customized Models to Empower Student, Repositioning the Universities for the Achievement of SDGs with Local Technologies & Manpower”
.
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "การศึกษาที่ยั่งยืนและเท่าเทียม: การแบ่งปันนวัตกรรม ความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีเพื่ออนาคตที่เป็นหนึ่งเดียว" โดยมีนักวิชาการชั้นนำ 60 ท่านจาก 50 มหาวิทยาลัยใน 30 ประเทศเข้าร่วม วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย Prof. (Dr.) Gerardus't Hooft, Nobel Laureate in Physics (1999); นายธีรภัทร มงคลนาวิน อัครราชทูต ประจำกรุงนิวเดลี Thirapath Mongkolnavin, Minister and Deputy Chief of Mission, Royal Thai Embassy in New Delhi; Dr. Dinesh Shukla, Chancellor and Founding President of American International University West Africa, Gambia; Prof. Dr. Matilde Maria Olarte Martinez, Vice Rector for Cultural, Heritage Sustainability and Campus Development, University of Salamanca, Spain; and Jai Inder Singh Sandhu, Senior Director, Chandigarh University.
.
การประชุมมีการแลกเปลี่ยนมุมมองและอภิปรายในประเด็นสำคัญหลายด้าน ได้แก่ ความร่วมมือระดับโลกเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนผ่านการวิจัยและนวัตกรรม การยกระดับความร่วมมือกับรัฐบาลประเทศต่างๆ ในการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม โมเดลที่ปรับแต่งเพื่อเสริมพลังนักศึกษา การปรับตำแหน่งมหาวิทยาลัยเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและกำลังคนท้องถิ่น บทบาทของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมความเห็นอกเห็นใจ การเสริมพลังสตรี และการมีส่วนร่วมทางสังคม
.
ภายหลังการประชุม ดร.นิชานท์ ได้เดินทางไปเมืองมุมไบเพื่อพบปะผู้แทนสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ และหารือความร่วมมือด้านวิชาการกับ India Institute of Technology Bombay and DY Patil University. ครอบคลุมโครงการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ การฝึกอบรมระยะสั้น และโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา
.
การเข้าร่วมประชุมสุดยอดการศึกษาโลกครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีในการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในเวทีนานาชาติแล้ว และช่วยเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แสวงหาความร่วมมือที่เป็นไปได้ และขยายเครือข่ายวิชาชีพกับผู้แทนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำจากทั่วโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต